วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

การลดความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัย

นื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น จะมีความชื้นและอุณหภูมิค่อนข้างสูงตลอดทั้งปี  ทำให้ภายในบ้านพักอาศัยมีความร้อนและความชื้นสะสมมาก   ทำให้มีการใช้เครื่องปรับอากาศเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสบายแก่ผู้อยู่อาศัยภายในที่พักอาศัยและภาระความร้อนที่ระบบปรับอากาศต้องดึงออกจากที่พักอาศัย  ประกอบด้วย ความร้อนสัมผัส(Sensible heat) และความร้อนแฝง(Latent heat) มีอยู่ในอากาศและอุปกรณ์ตกแต่งบ้านทั่วไป หากเรhttp://www.thailandindustry.com/guru/view.php?id=1401าสามารถลดความชื้นของอากาศลงได้ก็จะสามารถลดภาระความร้อนแฝงภายในที่พักอาศัยได้  หมายถึงการลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบปรับอากาศลงได้ การลดความชื้นของอากาศสามารถทำได้หลายวิธี ตัวอย่าง เช่น การใช้สารดูดความชื้น  แต่ปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของการใช้สารดูดความชื้นคือเมื่อใช้สารดูดความชื้นจนความสามารถในการดูดความชื้นลดลงจะต้องมีการนำสารดูดความชื้นมาทำการดึงความชื้นออก หรือลดความชื้นโดยใช้วิธี ล้อความร้อน(Heat Wheel) โดยการนำเอาอากาศร้อนมาดึงความชื้นออกจากอากาศก่อนเข้าระบบปรับอากาศแต่วิธีนี้จะส่งผลให้อากาศที่ผ่านกระบวนการลดความชื้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น  แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ลดความชื้นที่จำหน่ายในท้องตลาดมีด้วยกันหลายแบบ เช่น  เครื่องลดความชื้นที่ใช้ คอมเพรสเซอร์ และเครื่องลดความชื้นที่ใช้สารกึ่งตัวนำเป็นอุปกรณ์หลักในการลดความชื้น  เครื่องลดความชื้นที่ใช้สารกึ่งตัวนำนั้นจะเป็นวิธีการที่สะดวกเพราะไม่มีอุปกรณ์มาก ง่ายต่อการติดตั้งและมีน้ำหนักเบา
.
ความชื้นสะสมที่เกิดขึ้นภายในที่พักอาศัยมักจะเกิดขึ้น  เนื่องจากร่างกายมนุษย์ที่ถ่ายเทความชื้นจากร่างกายให้กับอากาศในที่พักอาศัย การคายความชื้นจากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายในที่พักอาศัย ด้วยเหตุนี้ทำให้ปริมาณความชื้นภายในอากาศเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความไม่สบายเชิงความร้อนต่อผู้พักอาศัย   จากการคายความชื้นสู่อากาศภายในที่พักอาศัย  ทำให้เครื่องปรับอากาศจะต้องทำการดึงความร้อนแฝงที่เกิดจากความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัยออกจากที่พักอาศัยเป็นจำนวนมาก   
.

การลดความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัย

การลดความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัยที่ใช้กันอย่างกว้างขวางสองวิธี คือ แบบ Passive และ Active ในรูปที่ แสดงตัวอย่างการลดความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัยโดย วิธี Passive อาศัยหลักการเดียวกับการระบายอากาศแบบธรรมชาติ โดยเมื่ออากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้นก็จะทำให้อากาศลอยตัวสูงขึ้นในขณะเดียวกันความชื้นในอากาศก็ลอยตัวพร้อมกับอากาศไหลจากชั้นล่างของบ้านผ่านช่องเปิดผ่านขึ้นสู่ชั้นสองและไหลผ่านฝ้าเพดานขึ้นสู่ห้องใต้หลังคาและในขณะเดียวกันอากาศร้อนในห้องใต้หลังคาก็จะไหลออกผ่านช่องเปิดที่เปิดไว้บนหลังคาบ้าน


http://www.thailandindustry.com/guru/view.php?id=1401

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น